วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวในพม่า


พระธาตุอินทร์แขวน
  ตำนานที่ 1 : เล่าว่า ฤาษีติสสะผู้หนึ่งได้รับพระเกศา จากพระพุทธเจ้าที่ได้มอบให้ไว้เป็นตัวแทนพระพุทธองค์ให้ประชาชนสักการะเมื่อครั้นได้มาแสดงธรรมเทศนา ณ  ดินแดนสุวรรณภูมิ ผู้ที่ได้รับมอบพระเกศาต่างก็นำไปบรรจุในสถูปเจดีย์ แต่ว่าฤๅษีติสสะกลับนำไปซ่อนไว้ในมวยผม พอเวลาล่วงเลยถึงคราวที่ฤๅษีติสสะจะต้องละสังขาร โดยมีความตั้งใจจะนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายกับศีรษะของตน  จึงให้พระอินทร์ช่วยหาก้อนหินที่มีลักษณะเหมือนกับศีรษะ ซึ่งได้มาจากใต้ท้องมหาสมุทร และก็ให้พระอินทร์นำมาวางหรือแขวนไว้บนภูเขาหิน จึงเป็นที่มาของชื่อ "พระธาตุอินทร์แขวน" แต่ชาวพม่าและชาวมอญจะเรียกพระธาตุอินทร์แขวนว่า "ไจก์ทิโย" เป็นภาษามอญ หมายถึง เจดีย์บนหินที่มีรูปร่างคล้ายศีรษะฤๅษี

                                                        ตำนานที่ 2 : เล่าว่า มีฤๅษีองค์หนึ่งซ่อนพระเกศาที่ได้รับมาจากพระพุทธเจ้า   เมื่อครั้นมาโปรดสัตว์ในถ้ำไว้ในมวยผมมาเป็นเวลา
นาน เมื่อใกล้ถึงวาระที่จะต้องละสังขารจึงตัดสินใจมอบพระเกศา
ให้กับพระเจ้าติสสะ กษัตริย์ผู้ครองนครแห่งหนึ่ง  ซึ่งเป็นบุตรของ
ลูกศิษย์ ที่นำมาฝากให้ฤๅษีช่วยเลี้ยงดูตั้งแต่เล็ก  แต่ก่อนอื่นพระ
เจ้าติสสะต้องหาก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายศีรษะของฤๅษี  โดยมี  พระอินทร์เป็นผู้ช่วยค้นหาจากใต้สมุทรนำมาวางไว้ที่หน้าผา

 ประวัติพระมหาเจดีย์ชเวดากอง


 •   พระมหาเจดีย์ชเวดากอง หรือ เจดีย์ทองแห่งมืองดากองหรือตะเกิง (ชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง)แห่งลุ่มน้ำอิระวด มหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศพม่า มีความสูงถึง ๓๒๖ ฟุต
 • มหาเจดีย์ชเวดากอง : เล่าว่าพระมหากษัตริย์มอญ  คือพระเจ้าโอกะลาปะ  ทรงเลื่อมใสใน ศรัทธาพระพุทธศาสนา  ได้ทรางก่อสร้างองค์พระเจดีย์ชเวดากองขึ้นมาเมื่อกว่า ๒๐๐๐ ปี ก่อน ต่อมาพระมหากษัตริย์มอญและพม่าแทบทุกพระองค์ได้ถือเป็นพระราชภารกิจในการก่อเสริมองค์พระเจดีย์ให้สูงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนสูงถึง ๓๒๖ ฟุต กว้าง ๑๓๕๕ ฟุตในปัจจุบัน โดยเฉพาะในสมัยพระนางซินสอบู หรือนางพระยาตะละแม่ท้าวเจ้า กษัตรีมอญผู้ครองเมืองหงสาวดี ได้ทรงริเริ่มธรรมเนียมบริจาคทองคำเท่าน้ำหนักพระองค์เองในการบูรณะพระมหาเจดีย์ นับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๑๙๙๖ (ตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมไตยโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา) จนกลายเป็นพระราชพิธีที่ปฎิบัติสืบต่อกันมา

ชเวมอดอร์ หงสาวดี

 
เจดีย์ชเวมอดอร์ เมืองหงสาวดี หรือที่เราเรียกกันว่า พระธาตุมุเตา เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุรวม 2 เส้น   มีอายุเก่าแก่กว่า   2,000 ปี เป็นที่เคารพสักการะของทั้งกษัตริย์  มอญ  พม่า  และไทย
เช่น  พระเจ้าราชาธิราชของมอญ พระเจ้าบุเรงนองของพม่า และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทย

พระมหามัยมุนี แห่งมัณฑะเลย์


 เป็นพระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องแบบกษัตริย์ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร เป็นที่ยอมรับกันว่า มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่ง “มหามุนี” แปลว่า “มหาปราชญ์” หล่อขึ้นในราว พ.ศ. 688 โดยชาวยะไข่ ชนกลุ่มน้อยในรัฐอาระกัน ทางทิศตะวันตกสุดของพม่าติดกับประเทศอินเดีย ต่อมาเมื่อพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ายกทัพไปตีเมืองยะไข่ได้ จึงโปรดให้ชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานที่เมืองมัณฑะเลย์ เมื่อ 200 ปีมาแล้ว มีตำนานเล่ากันว่า พระพุทธเจ้าทรงประทานลมหายใจให้พระมหามุนีเป็นตัวแทนสืบทอดพระศาสนา ชาวพม่าจึงเชื่อกันว่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้มีลมหายใจจริง จึงต้องมีพิธีล้างพระพักตร์ให้ทุกเช้า ซึ่งพิธีนึ้ก็ยังคงดำรงอยู่มาตราบจนถึงปัจจุบัน

พระราชวังมัณฑะเลย์ พม่า

 

เมืองมัณฑะเลย์ : ปัจจุบันนี้มีฐานะเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่ารองจาก ย่างกุ้ง เป็นราชธานีสุดท้ายของราชวงศ์พม่า ก่อนที่ระบอบกษัตริย์จะถูกโค่นล้มลงและก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ





 อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom)




 

อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom)
         เป็น อาณาจักรโบราณในช่วง พ.ศ. 1587 - พ.ศ. 1830 พุกามเป็นอาณาจักรและราชวงศ์แห่งแรกในประวัติศาสตร์พม่า    มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกามในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่า "ผิวคาม"  (แปลว่า หมู่บ้านของชาวผิว)   เป็นเมืองเล็ก ๆ ริมทิศตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี สภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห้งแล้ง เป็นที่อยู่ของชาวผิวซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ในปี    พ. ศ. 1587  พุกามถูกสถาปนาโดย  พระเจ้าอโนรธามังช่อพระองค์ต้องทำสงครามกับชาวมอญที่อยู่ทางใต้  จึงได้สถาปนาชื่ออย่างเป็นทางการของพุกามว่า  ตะริมัตระปุระ" (หมายความว่า เมืองที่ปราบศัตรูราบคาบ)รอบ ๆเมืองพุกาม มีหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ"มินดาตุ" ซึ่เป็นเขตเมืองโบราณ 4 แห่ง ล้อมรอบอยู่ด้ว
ทะเลสาบอินเล



 สะพานอูเบ็ง


  • สะพานอูเบ็ง เป็นสะพานที่ยาวถึง 2 กิโลเมตร ทอดข้ามทะเลสาบตองตะมาน ทางตอนใต้ของเมืองอมรปุระ มุ่งตรงไปสู่เจดีย์เจ๊าต่อจี อยู่อีกฟากหนึ่งของทะเลสาบ พระเจ้าปุดงโปรดฯให้ขุนนางนามว่า “อูเบ็ง” เป็นแม่กองงานสร้างสะพานแห่งนี้ โดยใช้ไม้สักที่รื้อจากพระราชวังเก่าแห่งกรุงอังวะจำนวน 1,208 ต้น


    บริเวณตีนสะพานอูเบ็ง มีจิตรกรพื้นที่มานั่งวาดรูปและผู้เสนอขายผลงานของตัวเอง ราคาก็ไม่แพง และในตอนเย็นๆ ชาวต่างชาตินิยมมานั่งเรือชมพระอาทิตย์ตกในทะเลสาบ หรือนั่งเล่นที่เก้าอี้หวายของร้านขายเครื่องดื่มริมทะเลสาบ   นอกจากมีบริการเครื่องดื่มแล้ว ยังมีปลาและกุ้งสดๆจากทะเลสาบทอดขายอีกด้วย


มัณฑะเลย์ฮิลล์

 • มัณฑะเลย์ฮิลล์ : คำว่า “มัณฑะเลย์” เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า “มันดูลา” หรือ  “มันดาลา” ซึ่งหมาย
ถึงวงล้อแห่งพลังอำนาจ หรือมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์   และยังเชื่อว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าทรงเคยเสด็จมาโปรดสัตว์ที่ภูเขาแห่งนี้   พร้อมทั้งมีพุทธทำนายว่าจะเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา อันเป็นสาเหตุให้พระเจ้ามินดงทรงย้ายราชธานีมาอยู่ใต้ร่มเงาภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้

พระพุทธไสยาสน์เจาทัตยี (พระตาหวาน)













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น